วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

แบดมินตัน^^


ประวัติแบดมินตันเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายมากในโลกประเภท หนึ่ง เชื่อกันว่ากีฬาประเภทนี้นิยมเล่นกันมามากกว่า 60 ปีมาแล้ว แต่ไม่มีหลัก ฐานยืนยันแน่นอนตายตัวว่ามาจากแหล่งใด คงมีแต่หลักฐานบางชิ้นที่บ่งว่ามีการเล่น ประปรายในยุโรปตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 เกมที่ฝรั่งเขาเรียกกันว่า แบทเทิลดอร์กับลูกขนไก่ก็นับได้ว่าเป็น ต้นตระกูลของกีฬาแบดมินตัน แม้จะมีชื่อเรียกต่างกันไปก็ตาม แต่วิธีเล่นยังคง เหมือนกัน มีบางคนกล่าวว่าได้มีการเล่นแบดมินตันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 ใน ราชสำนักในอังกฤษและในประเทศจีนก็มีการเล่นเกมที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับแบดมินตัน ในศตวรรษเดียวกัน
ในปี พ.ศ. 2403 ได้ค้นพบลูกขนไก่แบบโบราณ ซึ่งอยู่ในสภาพดี จำนวนมากถูกเก็บรักษาเอาไว้ที่แบดมินตันเฮ้าส์ ซึ่งมีรูปร่างและขนาดที่แตกต่าง กันออกไปไม่แน่นอน แต่มีขนาดใหญ่ และหนักกว่าลูกขนไก่ในปัจจุบันมาก มีกำมะหยี่ ห่อหุ้มที่ฐาน และผูกริบบิ้นสีสวยเอาไว้ และต่อมาได้พบลูกขนไก่ซึ่งมีหลักฐาน ระบุว่าทำขึ้นที่อินเดียในปี พ.ศ. 2408 ถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์มีขนไก่ 19 ขน ความยาวของขนไก่ 3 นิ้ว มีฐานเป็นไม้คอร์ก พื้นเรียบมีริบบิ้นผูกติดเอาไว้ ด้วย
ในปี ค.ศ. 1870 ได้มีการจดบันทึกประวัติกีฬาแบดมินตันไว้เป็น การแน่นอนโดยกล่าวว่าการเล่นกีฬาแบดมินตันได้เกิดขึ้นที่เมืองปูนา ซึ่งเป็น เมืองเล็ก ๆ ห่างจากบอมเบย์ในประเทศอินเดียประมาณ 50 ไมล์ โดยเล่นบนพื้นสนาม หญ้าเอาไม้แผ่นกระดานบาง ๆ มาทำเป็นไม้ตีคล้ายพัดตีลูกขนไก่โต้กันไปมา ต่อมามี นายทหารอังกฤษที่ไปประจำการอยู่ที่นั้น นำเกมการตีลูกขนไก่นี้กลับไปยังเกาะ อังกฤษ และเล่นกันอย่างแพร่หลาย ณ คฤหาสน์แบดมินตัน ของท่านดยุค แห่งบิวฟอร์ ดที่กล๊อสเตอร์ในปี ค.ศ. 1873 เป็นคฤหาสน์ที่ใหญ่โตกว้างขวาง มีเนื้อที่เป็นสวน รุกขชาติล้อมรอบมีปริมณฑล 10 ไมล์ อยู่ในทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองบริสต อลราว ๆ 17 ไมล์ ต่อมาก็เรียกชื่อกีฬาลูกขนไก่นี้ว่า "แบดมินตัน" ตามชื่อ คฤหาสน์ ดังกล่าวตั้งแต่นั้นมา หลังจากนั้นก็มีการเล่นกีฬาแบดมินตันแพร่หลายไป ยังประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นยุโรป เช่นเดนมาร์ก สวีเดน เป็นต้น เกมกีฬาแบดมินตัน นี้มีลักษณะคล้าย ๆ กับการเล่นเทนนิสแต่สามารถเล่นได้ภายในตัวตึกโดยไม่ต้อง กังวลต่อลม หรือหิมะที่กระหน่ำมารบกวนการเล่นเกมในฤดูหนาว เมื่อมีชาวยุโรปได้ อพยพไปอยู่ในทวีปอเมริกา ได้นำเอาเกมการเล่นนี้ไปด้วย ส่วนทางเอเชียนั้น ได้มี การแพร่หลายมาโดยทหารเรืออังกฤษนำมาเล่นในอาณานิคมของอังกฤษที่ถูกยึดครองเป็น ส่วนใหญ่ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มาเลเซีย ต่างนำเกมแบดมินตันไปเล่นยัง ประเทศของตนอย่างแพร่หลาย การที่ประเทศอังกฤษมีอาณานิคมกว้างขวางทำให้เกมการ เล่นแบดมินตันแพร่หลายไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลกอย่างกว้างขวาง รวมทั้งประเทศไทย ด้วย
ในปี ค.ศ. 1934 สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษเป็นตัวตั้งตัว ตีร่วมกับสมาคมแบดมินตันแห่งชาติอื่น ๆ อีก 8 ชาติ มี ไอร์แลนด์ สกอตแลนด์ เวลล์ แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์และนิวซีแลนด์ ได้ริเริ่มก่อตั้ง สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติหรือ I.B.F. ขึ้นสำเร็จมีศูนย์กลางอยู่ในกรุงลอนดอน สหพันธ์มีบทบาทอันสำคัญในการกำหนด และควบคุมกติกาและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของ กีฬาแบดมินตันทั่วโลกจากประเทศสมาชิกผู้เริ่มการครั้งแรก 9 ชาติ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สกอตแลนด์ เวลล์ แคนาดา เนเธอร์แลนด์ และ นิวซีแลนด์ ปัจจุบันนี้มีประเทศอยู่ในเครือสมาชิกมากกว่า 80 ประเทศ สหพันธ์ แบดมินตัน นานาชาตินี้มีหน้าที่ควบคุมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันชิงชนะเลิศระหว่าง ประเทศ เช่น การแข่งขันชิงด้วยโธมัสคัพ ถ้วยอูเบอร์คัพ ชิงแชมป์โลก และชิงชนะ เลิศภาคพื้นทวีปต่าง ๆ ทั่วโลกสำหรับประเทศไทย เป็นสมาชิกของสหพันธ์แบดมินตัน นานาชาติเมื่อปลายเดือนมีนมคม ค.ศ. 1951

เทเบิลเทนนิส^^

เท่าที่มีหลักฐานบันทึกพอให้ค้นคว้า ทำให้เราได้ทราบว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสได้เริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1890 ในครั้งนั้นอุปกรณ์ที่ใช้เล่นประกอบด้วยไม้หนังสัตว์ลักษณะคล้ายกับไม้เทนนิสในปัจจุบัน แทนที่จะขึงด้วยเส้นเอ็นก็ใช้แผ่นหนังสัตว์หุ้มแทน ลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ เวลาตีกระทบถูกพื้นโต๊ะและไม้ก็จะเกิดเสียง “ปิก – ป๊อก” ดังนั้น กีฬานี้จึงถูกเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่า “ปิงปอง” (pingpong) ต่อมาได้มีวิวัฒนาการขึ้นโดยไม้หนังสัตว์ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแผ่นไม้ซึ่งได้เริ่มเล่นแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อนวิธีการเล่นในสมัยยุโรปตอนต้นนี้เป็นการเล่นแบบยัน (Blocking) และแบบดันกัน (Pushing) ซึ่งต่อมได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ BLOCKING และ CHOP การเล่นลูกตัด ซึ่งวิธีนี้เองเป็นวิธีการเล่นที่ส่วนใหญ่นิยมกันมากในยุโรป และแพร่หลายมากในประเทศต่าง ๆ ทั่วยุโรป การจับไม้ก็มีการจับอยู่ 2 ลักษณะเช่นเดียวกัน คือ จับไม้แบบการจับมือ (SHACK HAND) ซึ่งเรียกกันว่า “จับไม้แบบยุโรป” นั่นเอง
ยุโรปเริ่มฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งโดยนำวิธีการเล่นของชาวเอเชียมาปรับปรุง นำโดยนักกีฬาชาวสวีเดนและประเทศอื่น ๆ ซึ่งมีหัวหน้าที่ไม่มัวมาแต่คิดจะรักษาหน้าของตัวเองว่าต้องไปเลียนแบบชาติอื่น ๆ ดังนั้น ชาวยุโรปจึงเริ่มชนะเลิศชายคู่ในปี 1967 และ 1969 ซึ่งเป็นนักกีฬาจากสวีเดน ในช่วงนั้นการเล่นแบบรุกยังไม่เป็นที่แพร่หลายทั้งนี้เพราะวิธีการเล่นแบบรับ (DEFENSIVE) ได้ฝังรากลงไปในยุโรปจนมีการพูดกันว่าการที่นักกีฬายุโรปเลียนแบบการเล่นลูกยาวแบบญี่ปุ่นนั้น คงจะไม่มีทางสำเร็จ แต่การที่นักกีฬาของสวีเดนได้เปลี่ยนวิธีการเล่นตามแบบญี่ปุ่นนั้น มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเยาวชนรุ่นหลังของยุโรปเป็นอย่างมาก และในปี ค.ศ. 1970 จึงเป็นปีแห่งการประจันหน้ากันระหว่างผู้เล่นชาวยุโรปและผู้เล่นชาวเอเชีย
ระยะเวลาได้ไปประมาณ 10 ปี ตั้งแต่ปี 1960-1970 นักกีฬาของญี่ปุ่นเริ่มแก่ตัวลงในขณะที่นักกีฬาใหม่ของยุโรปเริ่มเก่งกล้าขึ้น และสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกไปครองครอบได้สำเร็จ ในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสเพื่อความชนะเลิศแห่งโลก ครั้งที่ 31 ณ กรุงนาโกน่า ประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1971 โดยนักเทเบิลเทนนิสชาวสวีเดนชื่อสเตลัง เบงค์สัน อายุ 17 ปี เป็นผู้เปิดศักราชให้กับชาวยุโรป ภายหลังจากที่นักกีฬาเทเบิลเทนนิสชาวยุโรปตกอันดับไปเป็นเวลาถึง 18 ปี ในปี ค.ศ. 1973 ทีมของสวีเดนก็คว้าตำแหน่งแชมเปี้ยนโลกได้ จึงทำให้ยุโรปต่างมีความมั่นใจในวิธีการเล่นที่ตัวเองได้เลียนแบบและปรับปรุง ดังนั้นนักกีฬายุโรปและนักกีฬาของเอเชียจึงเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญในขณะที่นักกีฬาของกลุ่มชาติอาหรับและลาตินอเมริกา ก็เริ่มก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว เริ่มมีการให้ความร่วมมือช่วยเหลือทางด้านเทคนิคซึ่งกันและกันการเล่นแบบตั้งรับซึ่งหมดความนิยมไปแล้วตั้งแต่ปี 1960 ก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้น โดยการใช้ความชำนาญในการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก หน้าไม้ซึ่งติดด้วยยางปิงปอง มีความยาวของเม็ดยางยาวกว่าปกติ การใช้ยาง ANTI-SPIN เพื่อพยายามเปลี่ยนวิถีการหมุนและทิศทางของลูกเข้าช่วย ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้นี้มีส่วนช่วยเป็นอย่างมากในขณะนี้ผู้เล่นเยาวชนต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากีฬาเทนนิสต่อไปในอนาคตได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และขณะนี้กีฬาเทนนิสก็ได้เป็นที่ยอมรับของคณะกรรมการโอลิมปิก โดยเริ่มจัดให้มีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกปี 1988 ที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี เป็นครั้งแรก

บาสเกตบอล^^

บาสเกตบอล

ประวัติกีฬาบาสเกตบอลต่างประเทศ

กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาประเภททีม มีผู้เล่นฝ่ายละ ๕ คน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำลูกบาสเกตบอลไปโยนลงห่วงประตูของฝ่ายตรงกันข้ามให้ได้มากที่สุด โดยมีทักษะการเล่น ได้แก่ การส่ง – รับลูกการเลี้ยงลูกและการยิงประต กีฬาบาสเกตบอลมีกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มจาก ดร. เจมส์ เอ เนสมิท(JamesA. Naismith) ได้คิดขึ้นเพื่อเล่นในโรงพลศึกษาของโรงเรียนฝึกอบรมของสมาคมวายเอ็มซีเอนานาชาติ (International Young Men’s ChristianAssociation Training School) ที่เมือง สปริงฟีลด์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์ ในช่วงที่มีหิมะตก เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๑ (พ.ศ. ๒๔๓๔) โดยใช้ตะกร้าลูกพีช ๒ ใบ แขวนเป็นประตู จึงทำให้กีฬานี้ได้ชื่อว่าบาสเกตบอล (Basketball) การเล่นครั้งนั้นใช้ลูกฟุตบอลเป็นลูกบอล มีผู้เล่นทั้งหมด ๑๘ คน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๙ คน มีกฎการเล่น ๔ ข้อ คือ ๑. ห้ามถือลูกเคลื่อนที่ ๒. ห้ามมิให้ผู้เล่นปะทะตัวกัน ๓. ประตูอยู่ระดับศีรษะและขนานพื้น ๔. ผู้เล่นจะถือลูกบอลนานเท่าใดก็ได้ และผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องไม่ถูกตัวผู้เล่นต่อมามีการปรับปรุงการเล่นโดยลดผู้เล่นเหลือฝ่ายละ ๕ คน เนื่องจากในการเล่นเกิดการปะทะกันเพราะสนามแคบ กติกานี้ใช้มาจนถึง ค.ศ. ๑๙๓๗ (พ.ศ. ๒๔๘๐) จึงได้ปรับปรุงแก้ไขครั้งใหญ่เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ ๑๑ ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศสเยอรมนี และใน ค.ศ. ๑๙๓๙ (พ.ศ. ๒๔๘๒) ดร.เจมส์ เอ. เนสมิท ก็เสียชีวิตลงก่อน จะได้เห็นความสำเร็จ และความยิ่งใหญ่ในกีฬาบาสเกตบอลที่เขาคิดค้นขึ้น ต่อมาจากนั้นกีฬาบาสเกตบอลก็แพร่หลายพัฒนาการเล่นเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วเป็นที่รู้้จักกันทั่วโลก องค์กรที่เกี่ยวข้องกับกีฬาบาสเกตบอลในระดับนานาชาติ ได้แก่ สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (ชื่อภาษาอังกฤษ International Amateur BasketballFederation ชื่อภาษาฝรั่งเศส Fe’de’ration International de Basketball Amateur ใช้ชื่อย่อว่า FIBA) นอกจากนี้ยังมีองค์กรในระดับทวีป เช่น สมาพันธ์บาสเกตบอลเอเชีย(Asian Basketball Confederation หรือ ABC) เป็นต้น

ประวัติกีฬาบาสเกตบอลในประเทศ

ประเทศไทยเริ่มเล่นกีฬาบาสเกตบอลกันตั้งแต่เมื่อใด สมัยใด ยังไม่มีหลักฐานยืนยันอย่างแน่ชัด แต่เท่าที่ค้นคว้าได้ปรากฏว่า นายนพคุณ พงษ์สุวรรณได้แปลกติกาการเล่นบาสเกตบอลจากภาษา อังกฤษ เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗และในปีเดียวกันนี้กรมพลศึกษา ได้จัดการแข่งขันบาสเกตบอลระดับนักเรียนขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้มีการจัดตั้งสมาคม บาสเกตบอลแห่งประเทศไทย และได้เป็นสมาชิก สมาคมบาสเกตบอลระหว่างประเทศตั้งแต่ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๙๖ปัจจุบันกีฬาบาสเกตบอลถูกบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนแทบ ทุกระดับการศึกษา คือตั้งแต่ระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังม การแข่งขัน อยู่ตลอดเวลา องค์กรสำคัญที่ส่งเสริมและจัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล ในประเทศไทย ได้แก่ สมาคมบาเกตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ กรมพลศึกษา กรุงเทพมหานครการกีฬาแห่งประเทศไทย ทบวงมหาวิทยาลัย (กีฬามหาวิททยาลัย) กองทัพ (กีฬาเหล่าทัพ) กองทัพอากาศ (กีฬานักเรียน) สถาบันการศึกษาทั่วไป
ประโยชน์ของการเล่นบาสเกตบอล
กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาที่ทำให้ผู้เล่นได้รับประโยชน์ดังนี้๑. ช่วยพัฒนาส่งเสริมสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคมแก่บุคคล๒. ช่วยพัฒนาส่งเสริมกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกาย (motor skills) ให้ทำงานประสาน กันดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมือ เท้า สายตาให้เคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง๓. เป็นกิจกรรมนันทนาการสำหรับพักผ่อน คลายความตึงเครียด แก่ผู้เล่นและผู้ชม๔. ช่วยฝึกการตัดสินใจ และรู้จักคิดแก้ปัญหา ตลอดจนมีสมาธิที่ดี๕. ช่วยฝึกให้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ และรู้จักให้อภัย๖. ใช้เป็นสื่อนำในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและส่วนรวม๗. ใช้เป็นสื่อนำในการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา๘. ผู้เล่นที่มีความสามารถจะทำชื่อเสียงให้แก่ตัวเอง วงศ์ตระกูล และประเทศชาติ๙. เป็นวิชาชีพด้านหนึ่งสำหรับงานกีฬา เช่น การแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลอาชีพ เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ว่ายน้ำ^^


กฏกติกากีฬาว่ายน้ำ กติกาการว่ายน้ำ กฏกติกาของกีฬาว่ายน้ำ


การตัดสินลำดับที่ผู้แข่งขันทุกคนจะกำหนดโดยการเปรียบเทียบเวลาที่เป็นทางการของแต่ละคนถ้าเวลาทางการเท่ากันหลายๆ คน ก็ให้ลำดับที่เท่ากันในรายการนั้นๆ ได้


*ผู้ควบคุมการแข่งขัน

ผู้ตัดสินชี้ขาด 1 คน

กรรมการดูฟาวล์ 4 คน

ผู้ปล่อยตัว 2 คน

หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ) 2 คน

กรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ) 2 คน

หัวหน้าผู้บันทึก 1 คน

ผู้บันทึก 1 คน

ผู้รับรายงานตัว 2 คน

กรรมการเชือกฟาวล์ 1 คน

ผู้ประกาศ 1 คน


จากการแข่งขันไม่สามารถใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติได้ จะต้องมีการแต่ตั้งกรรมการเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น คือ หัวหน้าผู้จับเวลา 1 คนผู้จับเวลาลู่ละ 3 คน (กรรมการจับเวลาสำรอง 2 คน) หัวหน้าเส้นชัย 1 คนกรรมการเส้นชัย (อย่างน้อย) 1 คน* หน้าที่ - ผู้ตัดสินชี้ขาด เป็นผู้ควบคุมและมีอำนาจสูงที่สุด โดยจะมอบหมายหน้าที่ และให้คำชี้แนะกับเจ้าหน้าที่ต่างๆ จะต้องตัดสินปัญหาทุกชนิดการตัดสินขั้นสุดท้ายถือเป็นสิ้นสุดไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ - ผู้ปล่อยตัว มีอำนาจควบคุมการแข่งขันอย่างเต็มที่ เมื่อได้รับสัญญาณมือจากผู้ตัดสินชี้ขาด การปล่อยตัวแต่ละรายการผู้ปล่อยตัวจะอยู่หางจากสระ 5 เมตร - ผู้รับรายงานตัว ต้องเตรียมกรอกรายชื่อนักว่ายน้ำลงในแบบฟอร์มแต่ละรายการก่อนการแข่งขัน - หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว ดูแลว่าเจ้าหน้าที่ดูการกลับตัวทุกคน ทำหน้าที่ในการแข่งขันเป็นอย่างดี เมื่อพบเห็นว่ามีการทำผิดกติกาจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินชี้ขาดทราบทันที่ - กรรมการดูการกลับตัว ต้องดูแลและเตือนเมื่อนักว่ายน้ำในลู่ของตนว่ายเข้ามาเหลือระยะทางอีก 5 เมตร - กรรมการดูการฟาวล์ ต้องเป็นผู้เข้าใจในกติกาเป็นอย่างดี และจะต้องช่วยดูการกลับตัวจากผู้ช่วยกรรมการกลับตัว และจะต้องทำการบันทึกการทำผิดกติกาของแต่ละลู่ ให้ต่อผู้ตัดสินชี้ขาด - หัวหน้าผู้จับเวลา ต้องเก็บรวบรวมแบบฟอร์มบันทึกเวลาของกรรมการจับเวลาทุกคน ในกรณีที่นาฬิกาจับเวลาไม่สามารถจับเวลาได้ หัวหน้าผู้จับเวลาอาจทำการตรวจสอบนาฬิกาเรือนนั้น - กรรมการจับเวลา นาฬิกา แต่ละเรือนจะต้องได้รับจากคณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน จะต้องเดินเวลาเมื่อมีสัญญาณเริ่ม และต้องหยุดเวลาเมื่อผู้เข้าแข่งขันในลู่ว่ายของเขาได้สิ้นสุดการว่ายที่สมบูรณ์ - หัวหน้ากรรมการเส้นชัย เป็นผู้มอบหมายให้กรรมการเส้นชัยแต่ละคนอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ และกรรมการเส้นชัยจะรวบรวมข้อมูลลำดับที่ให้หัวหน้ากรรมการเส้นชัย หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะต้องนำส่งผลต่อผู้ตัดสินชี้ขาด และจะต้องบันทึกข้อมูลการแข่งขันที่ใบบันทึกด้วยเครื่องอัตโนมัติ ภายหลังการแข่งขันแต่ละรายการสิ้นสุด - กรรมการเส้นชัย มีหน้าที่กดปุ่มสัญญาณเท่านั้นจะต้องไม่ทำหน้าที่ก้าวก่ายการจับเวลาในรายการเดียวกัน - เจ้าหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน รับผิดชอบตรวจสอบผลการแข่งขัน กรรมการทุกคนจะต้องตัดสินใจด้วยตัวของตัวเอง นอกเสียจากว่าปัญหานั้นๆ กติกาได้บอกไว้อย่างชัดเจนแล้ว* การจับเวลา - ให้มีจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง - ถ้านาฬิกาจับเวลา 2 ใน 3 เรือน เท่ากันให้ใช้การจับเวลานั้น - ถ้านาฬิกาทั้ง 3 เรือนนั้น ไม่ตรงกัน ให้ใช้เวลาของนาฬิกาที่เป็นเวลาที่เป็นทางการ

เทควันโด^^

เทควันโด คือ ศิลปะการป้องกันตัวด้วยมือเปล่าของชาวเกาหลี เท แปลว่า มือ ควัน แปลว่า เท้า โด แปลว่า สติปัญญาหรือการมีสติ เทควันโด คือ ศิลปะการต่อสู้โดยใช้มือและเท้าอย่างมีสติ
ศิลปะการป้องกันตัวชองประเทศเกาหลี มีมาตั้งแต่ 2 พันกว่าปี ในปี ค.ศ.1955 องค์กรพิเศษได้ถูก จัดตั้งขึ้นในนามขององค์การควบคุมศิลปะแห่งชาติ ถูกตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่และควบคุมทำการสอนให้แก่สาธารณะชน องค์กรทางทหารซึ่งขึ้นอยู่กับเงินทุนกองกลางที่มีสามชิกขององค์กร เป็นผู้ที่มีความคิดความสามารถที่เชี่ยวชาญ กลุ่มสมาชิกได้รวมตัวกัน โดยมีนายพล Choi Hong Hi เป็นผู้ตั้งชื่อใหม่ขึ้นว่า เทควันโด ( Taekwondo ) จนกระทั่งทุกวันนี้ มีคนจำนวนมากกว่า 30 ล้านคนทั่วโลก จาก 140 เมืองที่ได้รับการ ฝึกฝนด้านเทควันโด
ศูนย์กลางเทควันโดโลก คือ kukkiwon เป็นสัญลักษณ์ของเทควันโด โดยมีนายอุน ยอง คิม ( Un Yong Kim ) เป็นประธานสหพันธ์เทควันโดโลก และเป็นประธานสมาคมเทควันโดของประเทศเกาหลี
ค.ศ. 1973 มีการแข่งขันชิงแชมป์โลกเป็นครั้งแรก
ค.ศ.1974 มีการสัมมนาผู้ตัดสินนานาชาติ และมีการแข่งขันชิงแชมป์ของเอเชียเป็นครั้งแรก
ค.ศ.1986 เทควันโดได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 10 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี
ค.ศ.1987 เทควันโดได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาซีเกมส์
ค.ศ.1988 เทควันโดเป็นกีฬาสาธิตในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี
ค.ศ.2000 เทควันโดเป็นกีฬาในโอลิมปิกเกมส์ ณ ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย



การแต่งกาย,,,,


ชุดฝึก ( Dobok )
สายคาดเอว ( Belt )
หมวกกันน็อค ( Headgear )
เกราะป้องกันลำตัว ( Body protector )
กระจับ ( Groin protector ) *
สนับแขน - ขา ( Arm & Shin guerds ) * เฉพาะนักกีฬาชาย
** คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะเตรียมอุปกรณ์ในข้อ 3 , 4 และ 5 ให้ส่วนที่เหลือนักกีฬาจะต้องจัดเตรียมมาเอง